นับแต่การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
มีการสร้างบ้านแปลงเมือง ขุดคูเมือง สร้างกำแพง ป้อม ค่าย มีประตูเข้าออกโดยรอบกำแพงพระนคร มีผู้คนต่างบ้านต่างเมือง ต่างชาติ ต่างภาษา เข้ามาค้าติดต่อราชการการ ค้าขาย อีกทั้งโดยตลอดวันยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายในสมัยที่การส่งข่าวสารต่างๆไม่ได้สะดวกรวดเร็วดังเช่นปัจจุบัน หอกลอง จึงทำหน้าที่สำคัญในการส่งสัญญาณบอกแก่ผู้คนในพระนครถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น โดยหอกลองของกรุงศรีอยุธยานั้น อยู่ในความดูแลของกรมพระนครบาล อยู่บริเวณตลาดหน้าคุก แถววัดเกตุ เป็นหอกลองสูง 3 ชั้น แขวนคอขนาดต่างกันจำนวน 3 ใบ
🌀ชั้นล่างสุดนั้นเป็นกองที่มีชื่อว่า พระทิวาราตรี เป็นกล่องใบใหญ่สุดในจำนวนกลอง 3 ใบ ใช้ตีเวลาย่ำเที่ยง ย่ำสันนิบาต เวลาย่ำรุ่ง(ตอนเช้า) ย่ำค่ำ(ตอนเย็น) เป็นการตีสัญญาณบอกเวลาเป็นประจำทุกวัน
🌀ชั้นกลางแขวนกองมีชื่อว่าพระมหาระงับดับเพลิง ตีเฉพาะเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ หากเกิดเพลิงไหม้นอกพระนครนับแต่ตลิ่งแม่น้ำออกไปด้านนอกคาดกลองเป็นสัญญาณ 3 ครั้ง แต่หากเพลิงนั้นเกิดไม่ในเกาะพระนคร อันเป็นที่มีสถานที่สำคัญทั้งพระราชวัง วัด ตลาด บ้านเรือนราษฎร จะเกิดเพลิงลุกลามไว้ทำให้ต้องคาดกองตลอดจนกว่าจะดับเพลิงได้
🌀ชั้นบนสุด แขวนกองมีชื่อว่า พระมหาฤกษ์ หากได้ยินเสียงกลองใบนี้เป็นอันว่าคงต้องเตรียมตัวโดยเร่งด่วนเพราะจะคาดกองนี้ก็ต่อเมื่อมีศึกมาประชิดติดพระนครเท่านั้น เมื่อเป็นหอกระจายสัญญาณสำคัญของพระนครย่อมต้องมีการดูแลเข้มงวดแต่มักเกิดปัญหาด้วยสัตว์ตัวน้อยคือมุสิกะ(หนู)ชอบกัดหนังหน้ากลองให้ได้รับความเสียหาย ในแต่ละวันเจ้าพนักงานพระนครบาลผู้ดูแลหอกลองจึงต้องเรียกเก็บเงินจากร้านค้าตลาดหน้าคุกร้านละห้าเบี้ย เพื่อนำมาซื้อปลาย่างเลี้ยงวิฬาร์(แมว) ไว้คอยกัดหนู ถึงแม้ปัจจุบันหอกลองนั้นจะไม่หลงเหลืออยู่แล้ว แต่ก็ยังคงสะท้อนถึงวิถีชีวิตผู้คนในอดีตที่ล่วงมา
ผู้เรียบเรียง : นายปวิตร ใจเสงี่ยม นักวิชาการวัฒนธรรมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา