วัดอโยธยา เป็นวัดหนึ่งที่มีกลิ่นอายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของเขตอนุรักษ์อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา คนเก่าแก่เรียกว่า วัดศรีอโยธยา หรือ วัดเดิม
วัดศรีอโยธยา หรือ วัดเดิม เชื่อว่าเป็นวัดที่แห่งหนึ่ง ที่สร้างมาก่อนมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานสันนิษฐานว่า สร้างตามลักษณะของช่างสุโขทัย และ ล้านนา ดูได้จากฐานพระเจดีย์ที่ยกสูงขึ้น ปัจจุบัน เหลือซากพระเจดีย์เก่าขนาดใหญ่ให้เห็นอยู่ ส่วนพระอุโบสถ์ และ พระวิหารที่สร้างสมัยนั้นไม่หลงเหลือแล้ว เป็นกองเนินขนาดใหญ่แทน คาดว่าพระอุโบสถ์เดิม ถูกสร้างทับจากพระอุโบสถ์ในปัจจุบัน ด้านบนพระเจดีย์คงเหลือลายปูนปั้นโบราณให้เห็นได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีปรากฎในจารึกวัดศรีชุม คือ จารึกหลักที่ 2 ในประมวลจารึกไทย ที่สันนิษฐานว่าจารึกโดยพระมหาเถรศรีสรธาราชจุฬามณี (สันสกฤตชื่อ “ศรีศรัทธาราชจุฬามุนี”) ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานพ่อขุนนาวนำถุม เป็นการบันทึกเหตุการณ์ราว คริสต์ศตวรรษที่ 14 (ราว ค.ศ.1351 /ราว พ.ศ.1893) ตอนพระมหาเถรศรีสรธาราชจุฬามณี กลับจากลังกา ซึ่งมีการสถาปนาพระนครศรีอโยธยาเป็นราชธานีแล้ว พงศาวดารเมืองเหนือเล่าว่า สมเด็จพระมหาเถรศรีสรธาฯ ได้บรรจุพระสารีริกธาตุที่เจดีย์วัดเก่าอโยธยาด้วย
เจดีย์ประธาน วัดอโยธยา มีลักษณะเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ชั้นล่างสุดเป็นฐานในผังสี่เหลี่ยม เหนือขึ้นไปเป็นชุดฐานบังในผังแปดเหลี่ยม ลักษณะค่อนข้างเตี้ย รองรับระฆังขนาดใหญ่ รอบองค์ระฆังประดับปูนปั้นเป็นรูปกลีบบัวโดยรอบ สันนิษฐานว่าคงเป็นงานประดับเพิ่มในภายหลัง ส่วนเหนือองค์ระฆังขึ้นไปหักหายไปแล้ว สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น พระประธานในวิหารวัดอโยธยาคือ “พระพุทธศรีอโยธยา