วัดตะไกรตั้งอยู่ใกล้กับวัดหน้าพระเมรุไม่ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่ชื่อของวัดได้ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาจากการศึกษาทางด้านโบราณคดีสามารถสรุปลำดับพัฒนาการของวัดตะไกรได้ดังนี้
สร้างได้นำดินเหนียวปรับถมพื้นที่ทั้งวัดแล้ววางผังตามแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เขตพุทธาวาสเริ่มจากกำแพงแก้วถัดจากวิหารเป็นเจดีย์ประธานแปดเหลี่ยม ทางทิศใต้ติดกับเจดีย์ประธานมีเจดีย์ลายหมายเลข 1-6 ตั้งอยู่ด้านหน้าวิหารนอก กำแพงทิศตะวันออกมีสระน้ำ 2 สระสร้างด้วยการก่ออิฐเป็นกรอบ
โบราณวัตถุที่พบได้แก่ ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เตาเชิงกราน หม้อดินเผาแบบต่างๆ เศษภาชนะสีดำขัดมัน ลายบาทของภิกษุสงฆ์ เครื่องถ้วยลายครามจีนกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ถึง 22
มีการถมดินพื้นที่เขตพุทธาวาสสูงขึ้นอีก 50 cm แบบผังของวัดตะไกรไม่เปลี่ยนแปลงตามแกนทิศตะวันออกตะวันตกโดยสร้างวิหารหลังใหม่ขึ้นต่อจากนั้นสร้างเจดีย์รายหมายเลข 7-11 รวมถึงอาคารหมายเลข 1 นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ภายในวัด เช่น เตาเชิงการปั้นดินเผา เบ้าหลอมโลหะ และภาชนะดินเผาจากแหล่งต่างๆวัดนี้มีพระสงฆ์จำพรรษาตั้งแต่สมัยแรกจนถึง พ.ศ 2310
สมัยรัตนโกสินทร์ระหว่างรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ได้มีผู้คนเข้ามาใช้พื้นที่ของวัดตะไกรอีกครั้งหนึ่งพบหลักฐานการบูรณะคือมีการเทพื้นภายในโบสถ์ทับพื้นเดิมสมัยอยุธยาตอนปลายและถูกทิ้งร้างไป
พิกัด : เข้าทางซอยเล็กๆด้านข้างวัดหน้าพระเมรุ (ฝั่งวัดหัสดาวาส) ตรงเข้าไปวัดจะเจอป้ายวัดตะไกรอยู่ซ้ายมือเลยครับ
ขอบคุณภาพและข้อมูล
อยุธยา-Ayutthaya Station