“มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยแห่งเมืองมรดกโลก” ฟื้นศาสตร์ สานศิลป์ กรุงศรีอยุธยา ภายในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลกประจำปี 2565
ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก กิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ งาน “มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยแห่งเมืองมรดกโลก” ฟื้นศาสตร์ สานศิลป์ กรุงศรีอยุธยา ภายในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลกประจำปี 2565 ณ ลานโบราณสถานวัดไตรตรึง โดยมี รศ.ดร.ชูสิทธิ์ ประดับเพ็ชร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับ และได้รับเกียรติจาก นายไพรัตน์ เพชรยวน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมแขกผู้มีเกีรยติมาร่วมเปิดงานในครั้งนี้ สำหรับกิจกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยแห่งเมืองมรดกโลก” ฟื้นศาสตร์ สานศิลป์ กรุงศรีอยุธยา เพื่อเฉลิมฉลองในวาระปีที่ 31 นับตั้งแต่ที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ภายในงาน ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการอยุธยามรดกโลก ภาพเก่ากรุงศรี ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และการแสดงสลับหมุนเวียนกันไป หัตถกรรม DIY สานปลาตะเพียน การบรรเลงเพลงไทย และรื่นรมย์ชมตลาดย้อนยุค
ดร.ชูสิทธิ์ ประดับเพ็ชร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลกในทุก ๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้ ได้มอบหมายให้สถาบันอยุธยาศึกษา เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน โดยจัดให้มีกิจกรรมให้ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชมนิทรรศการ นิทรรศการอยุธยามรดกโลก ภาพเก่ากรุงศรี ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และการแสดงสลับหมุนเวียนกันไป หัตถกรรม DIY สานปลาตะเพียน การบรรเลงเพลงไทย และรื่นรมย์ชมตลาดย้อนยุค นอกจากนี้ยังมี การสาธิตและการแสดงทางด้านศิลปวัฒนธรรม การบรรเลงดนตรีไทย การบรรเลงดนตรีร่วมสมัย ตลอดจนการออกร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อเฉลิมฉลองการเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งเป็นการแสดงศักยภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาในด้านการพัฒนาท้องถิ่น
ด้านนายนิวัฒน์ รุ่งสาคม ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การจัดกิจกรรมของมหาลัยราชภัฎนั้น ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มอบหมายให้จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยได้ร่วมทำกิจกรรมบริการสังคม โดยจัดนิทรรศการ รวมถึงการจัดลานพื้นของโบราณสถานวัดไตรตรึงให้ประชาชนร่วมถ่ายภาพ รวมถึงมีการสาธิตการทำผลิตต่าง ๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจมาร่วมฝึกทำผลิตต่าง ๆ ด้วย