Go-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-Logo
  • หน้าแรก
  • สถานที่ท่องเที่ยว
    • วัด – โบราณสถาน
    • ที่เที่ยวไม่ใช่วัด
    • แหล่งซื้อของ
  • ร้านอาหาร
    • ร้านอาหาร-อ.บ้านแพรก
    • ร้านอาหาร-อ.ผักไห่
    • ร้านอาหาร-อ.ภาชี
    • ร้านอาหาร-อ.มหาราช
    • ร้านอาหาร-อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.วังน้อย
    • ร้านอาหาร-อ.อุทัย
    • ร้านอาหาร-อ.เสนา
    • ร้านอาหาร-อ.ท่าเรือ
    • ร้านอาหาร-อ.นครหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.บางซ้าย
    • ร้านอาหาร-อ.บางบาล
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะหัน
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะอิน
    • ร้านอาหาร-อ.บางไทร
    • ร้านอาหาร-อ.พระนครศรีอยุธยา
  • โรงแรมและที่พัก
    • อ.ท่าเรือ
    • อ.นครหลวง
    • อ.บางซ้าย
    • อ.บางบาล
    • อ.บางปะหัน
    • อ.บางปะอิน
    • อ.บางไทร
    • อ.บ้านแพรก
    • อ.ผักไห่
    • อ.ภาชี
    • อ.มหาราช
    • อ.ลาดบัวหลวง
    • อ.วังน้อย
    • อ.อุทัย
    • อ.พระนครศรีอยุธยา
    • อ.เสนา
  • ร้านกาแฟ
    • ร้านกาแฟ  อ.มหาราช
    • ร้านกาแฟ  อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านกาแฟ  อ.วังน้อย
    • ร้านกาแฟ  อ.อุทัย
    • ร้านกาแฟ  อ.เสนา
    • ร้านกาแฟ อ.ท่าเรือ
    • ร้านกาแฟ อ.นครหลวง
    • ร้านกาแฟ อ.บางซ้าย
    • ร้านกาแฟ อ.บางบาล
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะหัน
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะอิน
    • ร้านกาแฟ อ.บางไทร
    • ร้านกาแฟ อ.บ้านแพรก
    • ร้านกาแฟ อ.ผักไห่
    • ร้านกาแฟ อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ร้านกาแฟ อ.ภาชี
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน อ.ท่าเรือ
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางบาล
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะหัน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะอิน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.นครหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางซ้าย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางไทร
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บ้านแพรก
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ผักไห่
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ภาชี
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.มหาราช
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ลาดบัวหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.วังน้อย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.เสนา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.อุทัย
  • ติดต่อเรา
ไทย
  • อังกฤษ
✕

วัดหน้าพระเมรุ

  • Home
  • สถานที่ท่องเที่ยว วัด - โบราณสถาน
  • วัดหน้าพระเมรุ
ไก่ทอดหาดใหญ่ มาแล้วต้องได้กิน
June 6, 2021
ก๋วยเตี๋ยวเรือ เสือร้องไห้
June 7, 2021

วัดหน้าพระเมรุ

Published by admin on June 7, 2021
Categories
  • วัด - โบราณสถาน
Tags
  • วัดหน้าพระเมรุ

วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชการาม”

แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งต้นสมัยอยุธยา มีแต่เพียงตำนานกล่าวว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2046 แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน

วัดหน้าพระเมรุเป็นหนึ่งวัดในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก บ้างสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้กับวัดหัสดาวาส (ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างและยังเหลือสิ่งก่อสร้างที่ไม่ถูกทำลายอยู่บ้าง

พระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา หรือได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงนั้น เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์

สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งอาจจะได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หน้าบันของพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักปิดทองที่แสดงรูปนารายณ์ทรงครุฑยุดนาคประทับราหูแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา (ด้านหน้าพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 26 องค์

ด้านหลังพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 22 องค์ รวมเทวดา 48 องค์) คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ คือเป็นพระนารายณ์อวตาร ดังนั้น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือปราสาทราชวังที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือทรงบูรณะก็มักจะทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นสำคัญ อันมีความหมายว่าวัดแห่งนี้เป็นพระอารามหลวง

ตัวพระอุโบสถไม่มีหน้าต่าง แต่ทำเป็นช่องลูกกรงให้แสงแดดและลมผ่านเข้าไปภายใน ลูกกรงดังกล่าวยังทำเป็นดอกเหลี่ยมหรือที่เรียกว่าผนังลูกกรงมะหวดเหลี่ยม (แบบเดียวกับผนังวิหารหลวง วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น)

สำหรับพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถซึ่งทรงเครื่องใหญ่ก็สร้างในคติของพระพุทธเจ้าปางโปรดพญามหาชมพู ตามความในมหาชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปที่นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนกลางต่อลงมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พระพุทธรูปองค์นี้อาจเปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปทรงเครื่องภายในเมรุทิศเมรุรายของวัดไชยวัฒนาราม ที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปราททองได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ จึงอนุมานได้ว่าพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุก็คงจะสร้างขึ้นในช่วงเวลานั้นด้วยเช่นกัน หรือไม่ก็คงได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในคราวนั้น ภายหลังรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระราชทานนามว่า พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ (นิยมเรียกย่อว่า พระพุทธนิมิต)

ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถมีวิหารน้อยที่สร้างขึ้นโดยพระยาชัยวิชิต (เผือก) ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีรูปแบบลอกเลียนมาจากพระอุโบสถ แต่ลดขนาดให้เล็กลงกับทั้งเปลี่ยนหน้าบันให้เป็นลายพรรณษาตามความนิยมของศิลปะในช่วงนั้น

ด้านในวิหารน้อยยังมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง ๆ และภายในประดิษฐาน พระคันธารราฐ พระพุทธรูปสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ อยุธยา เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมคงประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดนครปฐมมาก่อน และได้ย้ายมายังวัดมหาธาตุ อยุธยา ราวรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เป็นได้

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียวประทับนั่งห้อยพระบาทที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่องค์ในเมืองไทยเวลานี้ ความเก่าแก่นั้นกล่าวได้ว่าเก่าแก่ก่อนสมัยสุโขทัย ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของโบโรบูดูร์ หรือบรมพุทโธ บนเกาะชวาในอินโดนีเซียเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว นับเป็น 1 ใน 6 พระพุทธรูปที่สร้างจากศิลาที่มีอยู่ในโลก เป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่ามาก

เจดีย์ราย 3 องค์ ที่มีรากไทรแผ่เข้าครอบคลุม ที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ ได้ปรากฏในภาพวาดกรุงศรีอยุธยาในหนังสือของ อ็องรี มูโอ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5

วัดหน้าพระเมรุนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารเป็นครั้งแรกว่า ราวปี พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง (ภายหลังนับเป็นมหาราชองค์ที่ 2 ของพม่า) และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทำสัญญาสงบศึก โดยได้ตั้งพลับพลาสำหรับเป็นที่เสด็จมาทรงทำสัญญาในระหว่างวัดหน้าพระเมรุแห่งนี้กับวัดหัสดาวาส

ซึ่งก็ได้เจรจาสงบศึกกันได้สำเร็จในที่สุด โดยกรุงศรีอยุธยายอมมอบช้างเผือก 4 ช้างให้แก่หงสาวดี มอบบุคคลที่เคยทัดทานมิให้มอบช้างเผือกแก่หงสาวดีไปเป็นตัวประกัน ยอมส่งช้างปีละ 30 เชือก และเงินอีกปีละ 300 ช่าง และยอมให้หงสาวดีมีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองมะริด ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาก็ทรงต่อรองขอดินแดนที่ฝ่ายหงสาวดียึดไว้คืนทั้งหมด ฝ่ายหงสาวดีก็ยอมคืนแต่โดยดี และถอยกลับสู่หงสาวดี ทำให้ครั้งนั้นพระเจ้าบุเรงนองยังไม่ได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราช เหตุการณ์เจรจาสงบศึกได้นี้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์กรุงศรีอยุธยาฯ เสียเอกราชครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นในภายหลัง (ในปี พ.ศ. 2112)

อีกครั้งหนึ่งคือ ราวปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญา (ภายหลังนับเป็นมหาราชองค์ที่ 3 ของพม่า) ได้ยกทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา และตั้งทัพหลวงไว้ตรงทุ่งพระเมรุ พระเจ้าอลองพญาได้ทรงบัญชาการศึกและทรงสั่งการให้นำปืนใหญ่เข้ามาตั้งในเขตวัดหน้าพระเมรุ และให้จุดไฟยิงปืนใหญ่ข้ามไปยังพระราชวังหลวงฝั่งตรงข้าม

ปรากฏว่าเกิดเหตุลูกปืนอุดทำให้ปืนใหญ่ระเบิดแตกออก ต้องพระวรกายของพระเจ้าอลองพญาจนสาหัส จนต้องถอยทัพและสิ้นพระชนม์เมื่อถอยยังไม่พ้นเมืองตาก เป็นอันยุติการรุกรานกรุงศรีอยุธยาไปอีกครั้งหนึ่ง เหตุการณ์พระเจ้าอลองพญาบาดเจ็บจนต้องถอยทัพและสิ้นพระชนม์นี้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์กรุงศรีอยุธยาฯ เสียเอกราชครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นในภายหลัง (ในปี พ.ศ. 2310)

Share
0
admin
admin

Related posts

May 8, 2023

เที่ยววัดท่าการ้องกัน


Read more
April 15, 2023

สงกรานต์ชาวรามัญ


Read more
April 14, 2023

ไปเที่ยวหันตรากันจ้า


Read more

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Search

✕

อัพเดตล่าสุด

  • 2.Lima Hotel Ayutthaya
  • โรงแรมThe Cavalli Casa Resort
  • sacit จัดงานฝ้ายทอใจ
  • แห่เทียนทางน้ำลาดชะโด
  • sacit พร้อมจัดงานใหญ่ “ฝ้ายทอใจ” ชูแนวคิด The Elegance of Thai Cotton

Search

✕

Latest posts

  • 0
    2.Lima Hotel Ayutthaya
    August 23, 2023
  • 0
    โรงแรมThe Cavalli Casa Resort
    August 23, 2023

Categories

  • Uncategorized @th
  • ข่าวกิจกรรม
  • ข่าวท่องเที่ยว
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ข่าวอื่นๆ
  • คลิปวีดีโอ
  • ที่เที่ยวไม่ใช่วัด
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.นครหลวง
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะอิน
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ภาชี
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน อ.ท่าเรือ
  • ร้านกาแฟ
  • ร้านกาแฟ  อ.วังน้อย
  • ร้านกาแฟ  อ.เสนา
  • ร้านกาแฟ อ.ท่าเรือ
  • ร้านกาแฟ อ.บางซ้าย
  • ร้านกาแฟ อ.บางบาล
  • ร้านกาแฟ อ.บางปะหัน
  • ร้านกาแฟ อ.บางปะอิน
  • ร้านกาแฟ อ.ผักไห่
  • ร้านกาแฟ อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ร้านอาหาร
  • ร้านอาหาร-อ.บางซ้าย
  • ร้านอาหาร-อ.บางบาล
  • ร้านอาหาร-อ.บางปะหัน
  • ร้านอาหาร-อ.บางปะอิน
  • ร้านอาหาร-อ.บางไทร
  • ร้านอาหาร-อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ร้านอาหาร-อ.มหาราช
  • ร้านอาหาร-อ.อุทัย
  • ร้านอาหาร-อ.เสนา
  • วัด – โบราณสถาน
  • สกู๊ปพิเศษ
  • สถานที่ท่องเที่ยว
  • อ.นครหลวง
  • อ.บางปะอิน
  • อ.บางไทร
  • อ.ผักไห่
  • อ.พระนครศรีอยุธยา
  • อ.มหาราช
  • อ.อุทัย
  • แหล่งซื้อของ
  • โรงแรมและที่พัก
  • ไฮไลท์

Archives

  • August 2023
  • July 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017
  • September 2017
  • March 2017
  • April 2000

Calendar

October 2023
M T W T F S S
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031  
« Aug    

ศูนย์รวมข้อมูล

สถานที่ท่องเที่ยว
ที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ
ประชาสัมพันธ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

แผนที่แนะนำเส้นทาง

Social Network

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • Instagram
  • Ayutthaya.go.th
© Copyright 2022 | go.ayutthaya.go.th
    ไทย
    • ไทย
    • อังกฤษ