Go-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-Logo
  • หน้าแรก
  • สถานที่ท่องเที่ยว
    • วัด – โบราณสถาน
    • ที่เที่ยวไม่ใช่วัด
    • แหล่งซื้อของ
  • ร้านอาหาร
    • ร้านอาหาร-อ.บ้านแพรก
    • ร้านอาหาร-อ.ผักไห่
    • ร้านอาหาร-อ.ภาชี
    • ร้านอาหาร-อ.มหาราช
    • ร้านอาหาร-อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.วังน้อย
    • ร้านอาหาร-อ.อุทัย
    • ร้านอาหาร-อ.เสนา
    • ร้านอาหาร-อ.ท่าเรือ
    • ร้านอาหาร-อ.นครหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.บางซ้าย
    • ร้านอาหาร-อ.บางบาล
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะหัน
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะอิน
    • ร้านอาหาร-อ.บางไทร
    • ร้านอาหาร-อ.พระนครศรีอยุธยา
  • โรงแรมและที่พัก
    • อ.ท่าเรือ
    • อ.นครหลวง
    • อ.บางซ้าย
    • อ.บางบาล
    • อ.บางปะหัน
    • อ.บางปะอิน
    • อ.บางไทร
    • อ.บ้านแพรก
    • อ.ผักไห่
    • อ.ภาชี
    • อ.มหาราช
    • อ.ลาดบัวหลวง
    • อ.วังน้อย
    • อ.อุทัย
    • อ.พระนครศรีอยุธยา
    • อ.เสนา
  • ร้านกาแฟ
    • ร้านกาแฟ  อ.มหาราช
    • ร้านกาแฟ  อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านกาแฟ  อ.วังน้อย
    • ร้านกาแฟ  อ.อุทัย
    • ร้านกาแฟ  อ.เสนา
    • ร้านกาแฟ อ.ท่าเรือ
    • ร้านกาแฟ อ.นครหลวง
    • ร้านกาแฟ อ.บางซ้าย
    • ร้านกาแฟ อ.บางบาล
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะหัน
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะอิน
    • ร้านกาแฟ อ.บางไทร
    • ร้านกาแฟ อ.บ้านแพรก
    • ร้านกาแฟ อ.ผักไห่
    • ร้านกาแฟ อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ร้านกาแฟ อ.ภาชี
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน อ.ท่าเรือ
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางบาล
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะหัน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะอิน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.นครหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางซ้าย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางไทร
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บ้านแพรก
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ผักไห่
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ภาชี
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.มหาราช
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ลาดบัวหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.วังน้อย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.เสนา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.อุทัย
  • ติดต่อเรา
ไทย
✕

วัดกุฎีดาว

  • Home
  • สถานที่ท่องเที่ยว วัด - โบราณสถาน
  • วัดกุฎีดาว
วัดสมณโกฏฐาราม
May 4, 2022
วัดธรรมาราม นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา
May 4, 2022

วัดกุฎีดาว

Published by admin on May 4, 2022
Categories
  • วัด - โบราณสถาน
  • สถานที่ท่องเที่ยว
  • ไฮไลท์
Tags

อยู่หน้าสถานีรถไฟ ฝั่งตะวันออก เป็นวัดเก่าแก่ ฝีมือการสร้างงดงามยิ่ง เห็นได้จากซากอาคาร เสาบัว และยอดพระเจดีย์ที่หักโค่นลงมา แม้จะปรักหักพังไปหมดแล้ว แต่ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความงดงามในอดีต ปัจจุบันเป็นวัดร้างไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง

แม้จะเหลือเพียงซากความงดงามของวัดในสมัยอยุธยาตอนปลาย หากวัดกุฎีดาวยังทรงคุณค่าทรงสถาปัตยกรรมของอดีตอันรุ่งเรือง แม้ประวัติการก่อสร้างวัดกุฎีดาวไม่ชัดเจน มีหลักฐานแตกต่างคลาดเคลื่อนกันไปบ้าง เช่น หนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่าพระยาธรรมิกรา พระราชโอรสในพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ทรงสร้างไว้เมื่อจุลศักราช 671 ปีเถาะ เอกศกส่วนพระอัครมเหสีของพระองค์ทรงสร้างวัดมเหยงคณ์ขึ้นคู่กัน แต่คำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวว่า พระมหาบรมราชาทรงสร้างวัดกุฎีดาว (กุฎิทวา) และพระภูมินทราธิบดีทรงสร้างวัดมเหยงคณ์

ส่วนพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับกล่าวความต้องกันว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างวัดมเหยงคณ์ แต่ไม่มีฉบับใดกล่าวถึงวัดกุฎีดาว จนล่วงมาถึงอยุธยาตอนปลายเมื่อวัดมเหยงคณ์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ จึงค่อยปรากฏเรื่องราวของวัดกุฎีดาวขึ้น สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับวัดมเหยงคณ์ และเป็นวัดใหญ่ที่สำคัญวัดหนึ่งทางบริเวณที่เรียกว่า “อโยธยา” ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าท้ายสระทรงปฏิสังขรณ์วัดมเหยงคณ์ สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงปฏิสังขรณ์วัดกุฎีดาว ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามขึ้นในอีกไม่กี่ปีถัดมา

จึงเป็นวัดพี่วัดน้องกันมาหลายร้อยปีแล้ว บริเวณวัดมีศาสนสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ พระอุโบสถ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่บนฐานที่แอ่นโค้งเป็นรูปท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นแบบของอาคารที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ขนาดกว้าง 15.4 เมตร ยาว 27.8 เมตร มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้าและด้านหลัง เจาะช่องหน้าต่างด้านละ 8 ช่อง ส่วนเจดีย์พระประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานประทักษิณย่อมุมไม้ยี่สิบ ปรากฏลวดลายขาสิงห์ประดับฐานประทักษิณขององค์เจดีย์

โดยแข้งสิงห์มีการทำรอบหยัก 2 หยักบนลานประทักษิณ มีเจดีย์รายจำนวน 8 องค์ พระวิหาร เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่บนฐานแอ่นโค้งเป็นรูปท้องเรือสำเภาขนาดกว้าง 14.1 เมตร ยาว 27 เมตร มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้าและด้านหลังผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างด้านละ 3 ช่อง ต่อมาคือตำหนัดกำมะเลียน อาคาร 2 ชั้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจากศิลปะตะวันตก ผนังชั้นบนและล่างเจาะเป็นซุ้มโค้งรูปกลีบบัวสันนิษฐานว่าเป็นที่ประทับทรงงานในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดกุฎีดาวของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชเมื่อปี พ.ศ. 2254

ส่วนกำแพงล้อมรอบเขตพุทธาวาสมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้างประมาณ 102 เมตร ยาวประมาณ 142 เมตร โดยก่ออิฐขึ้นมาตรง ๆ มีบัวประดับด้านบนมุมทั้งสี่ทำเป็นหยักแบบการย่อมุมไม้สิบสอง มีซุ้มประตูก่อเป็นซุ้มโค้งด้านละ 2 ซุ้ม แม้วัดนี้จะกลายเป็นเพียงซากโบราณสถาน หากมีความสมบูรณ์ยิ่ง จนจินตนาการได้ถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในอารามสมัยอยุธยาได้อย่างเห็นภาพทีเดียว

Share
1
admin
admin

Related posts

February 3, 2023

ดันนครหลวงเมืองรองต้องเที่ยว


Read more
January 31, 2023

อากาศดีไหว้พระอยุธยา


Read more
January 31, 2023

ไปเที่ยววัดท่าการ้องกัน


Read more

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Search

✕

อัพเดตล่าสุด

  • ดันนครหลวงเมืองรองต้องเที่ยว
  • ลุงอ๊อดต้มเลือดหมู
  • ร้านแอบแซบ ที่ต้องบอกต่อ
  • ร้านนี้เมนูเด็ด ครัวนายพัน
  • อยุธยาติด 1 ใน 50 เมืองทั่วโลกต้องมาเที่ยวหลังโควิด

ศูนย์รวมข้อมูล

สถานที่ท่องเที่ยว
ที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ
ประชาสัมพันธ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

แผนที่แนะนำเส้นทาง

Social Network

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • Instagram
  • Ayutthaya.go.th
© Copyright 2022 | go.ayutthaya.go.th
    ไทย
    • No translations available for this page