Go-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-Logo
  • หน้าแรก
  • สถานที่ท่องเที่ยว
    • วัด – โบราณสถาน
    • ที่เที่ยวไม่ใช่วัด
    • แหล่งซื้อของ
  • ร้านอาหาร
    • ร้านอาหาร-อ.บ้านแพรก
    • ร้านอาหาร-อ.ผักไห่
    • ร้านอาหาร-อ.ภาชี
    • ร้านอาหาร-อ.มหาราช
    • ร้านอาหาร-อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.วังน้อย
    • ร้านอาหาร-อ.อุทัย
    • ร้านอาหาร-อ.เสนา
    • ร้านอาหาร-อ.ท่าเรือ
    • ร้านอาหาร-อ.นครหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.บางซ้าย
    • ร้านอาหาร-อ.บางบาล
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะหัน
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะอิน
    • ร้านอาหาร-อ.บางไทร
    • ร้านอาหาร-อ.พระนครศรีอยุธยา
  • โรงแรมและที่พัก
    • อ.ท่าเรือ
    • อ.นครหลวง
    • อ.บางซ้าย
    • อ.บางบาล
    • อ.บางปะหัน
    • อ.บางปะอิน
    • อ.บางไทร
    • อ.บ้านแพรก
    • อ.ผักไห่
    • อ.ภาชี
    • อ.มหาราช
    • อ.ลาดบัวหลวง
    • อ.วังน้อย
    • อ.อุทัย
    • อ.พระนครศรีอยุธยา
    • อ.เสนา
  • ร้านกาแฟ
    • ร้านกาแฟ  อ.มหาราช
    • ร้านกาแฟ  อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านกาแฟ  อ.วังน้อย
    • ร้านกาแฟ  อ.อุทัย
    • ร้านกาแฟ  อ.เสนา
    • ร้านกาแฟ อ.ท่าเรือ
    • ร้านกาแฟ อ.นครหลวง
    • ร้านกาแฟ อ.บางซ้าย
    • ร้านกาแฟ อ.บางบาล
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะหัน
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะอิน
    • ร้านกาแฟ อ.บางไทร
    • ร้านกาแฟ อ.บ้านแพรก
    • ร้านกาแฟ อ.ผักไห่
    • ร้านกาแฟ อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ร้านกาแฟ อ.ภาชี
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน อ.ท่าเรือ
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางบาล
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะหัน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะอิน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.นครหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางซ้าย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางไทร
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บ้านแพรก
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ผักไห่
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ภาชี
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.มหาราช
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ลาดบัวหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.วังน้อย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.เสนา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.อุทัย
  • ติดต่อเรา
ไทย
✕

“เจว็ด””รู้ไว้ใช่ว่า” ชุุดของดีมีอยู่

  • Home
  • ข่าวประชาสัมพันธ์ สกู๊ปพิเศษ
  • “เจว็ด””รู้ไว้ใช่ว่า” ชุุดของดีมีอยู่
เที่ยวอยุธยาถ่ายรูปมา​ ให้ดูเก๋ๆ
February 4, 2021
ป้อมปราการรอบกรุง
February 9, 2021

“เจว็ด””รู้ไว้ใช่ว่า” ชุุดของดีมีอยู่

Published by admin on February 9, 2021
Categories
  • สกู๊ปพิเศษ
Tags

ประเดิมเรื่องราวที่น่าสนใจ รอบตัวของดีมีอยู่ที่อาจมองเห็นและผ่านไปไม่รู้จักว่าคืออะไร วันนี้ กับเรื่องราวของ “เจว็ด”
หลายครั้งที่เคยได้ยินคำว่า “เจว็ด” และบ่อยครั้งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปไม่ได้ค้นหาความหมายว่าคืออะไร รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ก็ไม่ได้ให้ความสนใจ นานวันเข้าทำให้เกิดความสนใจที่จะต้องค้นหาเสียแล้ว เมื่อได้มีโอกาสไปพบเห็นเจว็ดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้ถึงบางอ้อว่า “เจว็ด” หน้าตาแบบนี้นี่เอง สิ่งต่อไปคือ การค้นหาความหมายของ “เจว็ด” ตามคำอธิบายของราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ “เจว็ด” ว่า เจว็ด อ่านว่า จะ-เหฺว็ด เป็นคำเรียกแผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา แต่ทำทรงสูง เพรียว. ด้านหน้าวาดรูปหรือสลักเป็นภาพเทวดาถือพระขรรค์ เรียกว่า รูปเทพารักษ์.

บ้านที่มีศาลพระภูมิจะประดิษฐานเจว็ดนี้ไว้ในศาลพระภูมิ. เชื่อกันว่าพระภูมิจะช่วยคุ้มกันบ้านเรือนและดูแลผู้คนที่อยู่ในบ้านนั้นให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายต่าง ๆ.
เจว็ดนิยมทำด้วยไม้มาแต่เดิม เพราะถือว่าพระภูมิเป็นรุกขเทวดาที่สถิตอยู่บนต้นไม้. นี่คือคำนิยามหรือความหมายที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย ท่านได้ให้ไว้

ในนิยามทางโบราณคดีหรือเรื่องราวเกี่ยวกับงานพระราชพิธี เจว็ด คือรูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลที่สร้างขึ้นในการประกอบพิธีทางศาสนาและความเชื่อต่างๆ เช่น หากทำเป็นรูปเทวดาถือคันไถ ก็จะใช้ในพิธีแรกนาขวัญ สำหรับเจว็ดชินนี้เป็นรูปเทวดาถือสมุด อีกมือหนึ่งถือแส้ มีความหมายคล้ายกับพระภูมิเจ้าที่ของจีน ซึ่งมีหน้าที่รักษาทะเบียนมนุษย์ ผู้ใดในหมู่บ้านซึ่งอยู่ในท้องที่พระภูมิดูแลรักษาอยู่ มีการทำบุญหรือทำบาปก็จะถูกจดบันทึกไว้ในสมุดทะเบียนนั้นไว้

ตามคติพราหมณ์เชื่อว่า เทพารักษ์ทำหน้าที่พิทักษ์เหย้าเรือนและเขตที่ตั้งของบ้านผู้เป็นเจ้าของที่ดินตลอดจนผู้อาศัยให้พ้นภัยทั้งปวง คติดังกล่าวน่าจะมาจากคัมภีร์ภาติวัตปุราณะ เล่าเรื่องนารายณ์อวตารในปาง “วามนาวตาร” เพื่อปราบท้าวพลีเจ้านครบาดาล พราหมณ์จึงนับถือท้าวพลีโดยตั้งอยู่ในฐานะเจ้าแห่งที่ดิน โดยในบทโองการบูชาเทวดามีเนื้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า “โอมพระภูมิพระธรณี กรุงพลีเรืองฤทธิ์” นอกจากนี้ตำนานพระภูมิเจ้าที่ซึ่งแต่งขึ้นเพิ่มเติมในสมัยหลังระบุว่า ท้าวพลีมีโอรสทั้งหมด ๙ องค์ โดยโอรสองค์โตนามพระชัยมงคล มีหน้าที่รักษาเคหะสถานบ้านเรือน
คติความเชื่อเกี่ยวกับเจว็ดหรือภาพเทพารักษ์เช่นนี้ คงมีขึ้นอย่างช้าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เนื่องจากหลักฐานคำให้การขุนหลวงหาวัดได้ระบุว่า “ย่านป่าโทน มีร้านขายทับ โทน เรไร ปี่แก้ว จ้องหน่อง … ศาลพระภูมิ เจว็ดเขียนเทวรูป เสื่อลำแพน…” และความนิยมในการตั้งศาลพระภูมิที่มีเจว็ดอยู่ภายใน ก็ยังคงสืบต่อมายังสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย

รูปแบบของเจว็ดในบางแห่งอาจมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งเป็นสำคัญว่าอยู่ในสถานที่ใด เช่น หอแก้วศาลพระภูมิในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นอาคารทรงไทยประเพณี ลักษณะของอาคารเช่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงระดับความสำคัญของศาลพระภูมิประจำพระบรมมหาราชวัง ภายหอแก้วมีเจว็ดทั้งหมด ๕ แผ่น เขียนภาพพระอินทร์และภาพท้าวจตุโลกบาล การเขียนภาพในลักษณะเช่นนี้บนเจว็ดดูจะแตกต่างจากเจว็ดทั่วๆ ไป อาจเป็นไปได้ว่าพระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญสูงสุด จึงต้องอาศัยเทพชั้นสูงคอยปกป้องคุ้มครอง ซึ่งต่างจากสถานที่อื่นๆ ที่มีความสำคัญน้อยกว่าจึงอาศัยเพียงเทพชั้นรองหรือเทพารักษ์ก็คงจะเพียงพอ หรืออีกนัยหนึ่งก็ชวนให้คิดว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับราชธานีแห่งนี้ซึ่งมีนามว่ากรุงรัตนโกสินทร์ อันแปลว่าเมืองแก้วแห่งพระอินทร์
นอกจากนี้ฝ่ายต่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง ก็มีการตั้งศาลเจว็ดขึ้นบูชาต่างหากด้วย โดยเจว็ดที่ประตูอนงคะลิ้นลา อันเป็นประตูทางเข้าพระราชฐานชั้นใน เขียนเป็นภาพนางอัปสรนั่ง เจ้าหน้าที่ผู้เฝ้าประตูระบุว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตย์อยู่ภายในเจว็ดของแต่ละประตูล้วนเรียกกันว่า “เจ้าแม่” ทั้งสิ้น ประเด็นการเรียกขานนามว่าเจ้าแม่อาจเกี่ยวข้องกับการเป็นเทพรักษาทางเข้าฝ่ายใน ซึ่งผู้ที่อาศัยอยู่ภายในนอกจากกษัตริย์และเด็กชายที่ยังไม่โกนจุกแล้ว นอกนั้นล้วนแต่เป็นสตรีทั้งสิ้น


ศาลพระภูมิจากอาคารบ้านเรือนทั่วๆ ไป แต่เดิมมักตั้งอยู่บริเวณริมรั้วบ้าน ในปัจจุบันศาลพระภูมิไม่ได้จำกัดว่าต้องอยู่เฉพาะที่ริมรั้วบ้านเท่านั้น แต่อาจตั้งอยู่บนชั้นดาดฟ้าของตึกได้ด้วย ลักษณะเช่นนี้อาจอธิบายได้ว่าแต่เดิมที่อยู่อาศัยมีอาณาบริเวณกว้างขว้างพอที่จะตั้งศาลพระภูมิในเขตรั้วบ้านได้ แต่ในปัจจุบันที่อยู่อาศัยมักสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ อีกทั้งยังนิยมอยู่ติดริมถนน จึงทำให้ไม่มีอาณาบริเวณพอสำหรับตั้งศาลพระภูมิ ดังนั้นตำแหน่งที่ตั้งจึงเปลี่ยนไปเป็นดาดฟ้าของอาคารแทน ด้วยเงื่อนไขของการปรับเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลให้คติความเชื่อเรื่องตำแหน่งที่ตั้งต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย

วันเวลาผ่านไปโลกเจริญไปด้วยเทคโนโลยีเจว็ดแทบจะเลือนหายไปกับกาลเวลา หลายท่านพักอาศัยอยู่ตามตึกสูง คอนโดมิเนียม ที่โอ่อ่าสูงตระหง่าน ทำให้การสร้างศาลพระภูมิที่มีเทพสถิตอยู่ในรูปของเจว็ดเริ่มเลือนหายไป ความสำคัญของศาลพระภูมิและการเรียนรู้เรื่องเทพที่ปกปักรักษาเคหาสถานจึงหมดไป จะพบเห็น “เจว็ด” กันก็ตามพิพิธภัณฑ์ฯ หรือบ้านโบราณเก่าแก่ ภายในงานพระราชพิธีหรือตามภาพถ่ายในหนังสือเท่านั้น หวังว่าการนำเสนอในครั้งนี้คงทำให้หลายท่านได้รับความรู้ต่างๆ ที่ทางชมรมฯ เพียรสร้างสรรค์เพื่อแบ่งปันเรื่องราวทางมรดก ประเพณี วัฒนธรรมไทยบ้างไม่มากก็น้อย เพื่อให้หลายท่านได้รู้จักสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้มากขึ้นก่อนที่จะไร้ค่าและถูกทำลายไปตามกาลเวลาเพราะความไม่รู้ในของดีที่มีอยู่

Share
0
admin
admin

Related posts

August 26, 2022

ราชินีแห่ง “ปรางค์”


Read more
August 26, 2022

คิดถึง น้องช้างไม่อ้างว้างเลยหนา (พาเที่ยวปางช้าง)


Read more
August 26, 2022

คิดถึง สะพานแขวนแลนด์มาร์คแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา


Read more

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Search

✕

อัพเดตล่าสุด

  • นักท่องเที่ยวร่วมเลี้ยงวันช้างไทย
  • นัตตี้แอดเวนเจอร์ บินลัดฟ้าไปเยอรมัน ชวนมนุษย์ล้อเที่ยวอยุธยา
  • สายแค้มปิ้งไม่ควรพลาด
  • อัศจรรย์อยุธยา
  • นักมวยต่างชาติชื่นชมช้างไทย

Search

✕

Latest posts

  • 0
    นักท่องเที่ยวร่วมเลี้ยงวันช้างไทย
    March 24, 2023
  • 0
    นัตตี้แอดเวนเจอร์ บินลัดฟ้าไปเยอรมัน ชวนมนุษย์ล้อเที่ยวอยุธยา
    March 24, 2023

Categories

  • Uncategorized @th
  • ข่าวกิจกรรม
  • ข่าวท่องเที่ยว
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ข่าวอื่นๆ
  • คลิปวีดีโอ
  • ที่เที่ยวไม่ใช่วัด
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.นครหลวง
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะอิน
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ภาชี
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน อ.ท่าเรือ
  • ร้านกาแฟ
  • ร้านกาแฟ  อ.วังน้อย
  • ร้านกาแฟ  อ.เสนา
  • ร้านกาแฟ อ.ท่าเรือ
  • ร้านกาแฟ อ.บางซ้าย
  • ร้านกาแฟ อ.บางบาล
  • ร้านกาแฟ อ.บางปะหัน
  • ร้านกาแฟ อ.บางปะอิน
  • ร้านกาแฟ อ.ผักไห่
  • ร้านกาแฟ อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ร้านอาหาร
  • ร้านอาหาร-อ.บางซ้าย
  • ร้านอาหาร-อ.บางบาล
  • ร้านอาหาร-อ.บางปะหัน
  • ร้านอาหาร-อ.บางปะอิน
  • ร้านอาหาร-อ.บางไทร
  • ร้านอาหาร-อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ร้านอาหาร-อ.มหาราช
  • ร้านอาหาร-อ.อุทัย
  • ร้านอาหาร-อ.เสนา
  • วัด – โบราณสถาน
  • สกู๊ปพิเศษ
  • สถานที่ท่องเที่ยว
  • อ.นครหลวง
  • อ.บางปะอิน
  • อ.บางไทร
  • อ.ผักไห่
  • อ.พระนครศรีอยุธยา
  • อ.มหาราช
  • อ.อุทัย
  • แหล่งซื้อของ
  • โรงแรมและที่พัก
  • ไฮไลท์

Archives

  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017
  • September 2017
  • March 2017
  • April 2000

Calendar

March 2023
M T W T F S S
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
« Feb    

ศูนย์รวมข้อมูล

สถานที่ท่องเที่ยว
ที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ
ประชาสัมพันธ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

แผนที่แนะนำเส้นทาง

Social Network

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • Instagram
  • Ayutthaya.go.th
© Copyright 2022 | go.ayutthaya.go.th
    ไทย
    • No translations available for this page