Go-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-Logo
  • หน้าแรก
  • สถานที่ท่องเที่ยว
    • วัด – โบราณสถาน
    • ที่เที่ยวไม่ใช่วัด
    • แหล่งซื้อของ
  • ร้านอาหาร
    • ร้านอาหาร-อ.บ้านแพรก
    • ร้านอาหาร-อ.ผักไห่
    • ร้านอาหาร-อ.ภาชี
    • ร้านอาหาร-อ.มหาราช
    • ร้านอาหาร-อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.วังน้อย
    • ร้านอาหาร-อ.อุทัย
    • ร้านอาหาร-อ.เสนา
    • ร้านอาหาร-อ.ท่าเรือ
    • ร้านอาหาร-อ.นครหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.บางซ้าย
    • ร้านอาหาร-อ.บางบาล
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะหัน
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะอิน
    • ร้านอาหาร-อ.บางไทร
    • ร้านอาหาร-อ.พระนครศรีอยุธยา
  • โรงแรมและที่พัก
    • อ.ท่าเรือ
    • อ.นครหลวง
    • อ.บางซ้าย
    • อ.บางบาล
    • อ.บางปะหัน
    • อ.บางปะอิน
    • อ.บางไทร
    • อ.บ้านแพรก
    • อ.ผักไห่
    • อ.ภาชี
    • อ.มหาราช
    • อ.ลาดบัวหลวง
    • อ.วังน้อย
    • อ.อุทัย
    • อ.พระนครศรีอยุธยา
    • อ.เสนา
  • ร้านกาแฟ
    • ร้านกาแฟ  อ.มหาราช
    • ร้านกาแฟ  อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านกาแฟ  อ.วังน้อย
    • ร้านกาแฟ  อ.อุทัย
    • ร้านกาแฟ  อ.เสนา
    • ร้านกาแฟ อ.ท่าเรือ
    • ร้านกาแฟ อ.นครหลวง
    • ร้านกาแฟ อ.บางซ้าย
    • ร้านกาแฟ อ.บางบาล
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะหัน
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะอิน
    • ร้านกาแฟ อ.บางไทร
    • ร้านกาแฟ อ.บ้านแพรก
    • ร้านกาแฟ อ.ผักไห่
    • ร้านกาแฟ อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ร้านกาแฟ อ.ภาชี
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน อ.ท่าเรือ
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางบาล
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะหัน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะอิน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.นครหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางซ้าย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางไทร
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บ้านแพรก
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ผักไห่
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ภาชี
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.มหาราช
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ลาดบัวหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.วังน้อย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.เสนา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.อุทัย
  • ติดต่อเรา
ไทย
✕

“อะไร…อยู่ใต้ฐานวัดไชยวัฒนาราม”

  • Home
  • ข่าวประชาสัมพันธ์ สกู๊ปพิเศษ
  • “อะไร…อยู่ใต้ฐานวัดไชยวัฒนาราม”
จากวัดหลวง สู่วัดร้างที่ได้รับการบูรณะ
February 9, 2022
วัดไชยวัฒนาราม ในมุมที่น่าสนใจ
February 11, 2022

“อะไร…อยู่ใต้ฐานวัดไชยวัฒนาราม”

Published by admin on February 10, 2022
Categories
  • สกู๊ปพิเศษ
  • ไฮไลท์
Tags

โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักที่ใครมาเยือนอยุธยา จะต้องมาหามุมสวยๆ ถ่ายภาพ แต่งชุดไทย หรืออยู่ชมพระอาทิตย์ตกดิน แต่ท่านทราบหรือไม่ ใต้ฐานของวัดไชยวัฒนารามมีหลักฐานสำคัญซ่อนอยู่


จากการขุดตรวจบริเวณโดยรอบฐานไพทีชั้นบน ใต้ผิวดินประมาณ 30 เซติเมตร พบร่องรอยแนวโบราณสถานก่ออิฐขนาดกว้าง
1 เมตร วางเรียงตัวรอบชั้นฐานในระยะห่างที่เท่ากัน และร่องรอยพื้นลานวัดปูอิฐที่เป็นหลักฐานเดิมตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยพื้นลานวัดมีสภาพยุบตัว
แนวอิฐขนาดใหญ่ที่พบ คือเอ็น มีหน้าที่รับน้ำหนักและถ่ายแรงจากโครงสร้างอาคารลงสู่พื้นดิน โดยเทคนิคการใช้เอ็นมาเป็นรากฐานสิ่งก่อสร้างเพื่อช่วยรับน้ำหนัก ประกอบด้วยการก่อแนวอิฐให้เป็นโครงสร้างที่มีแผนผังต่างๆ ให้สอดคล้องกับแผนผังอาคาร เช่น แผนผังสี่เหลี่ยม แล้วใช้ดินหรือเศษอิฐหักกากปูนถมระหว่างช่องว่างของแนวเอ็นต่างๆ จนแน่น เทคนิคนี้ มักพบในสิ่งก่อสร้างสมัยอยุธยา โดยปรากฏตั้งแต่ในสิ่งก่อสร้างขนาดเล็ก เช่น เจดีย์ราย ไปจนถึงขนาดใหญ่ เช่น ฐานไพที ฐานพระที่นั่ง
ในส่วนของวัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดที่มีการสร้างฐานไพทีมีความสูงใหญ่หลายชั้น เพื่อรองรับพระปรางค์ประธาน เมรุ 8 องค์ รวมถึงสิ่งก่อสร้างอื่นจึงต้องมีการก่อสร้างฐาน สร้างเอ็นขนาดใหญ่จำนวนหลายแนว เพื่อให้เพียงพอต่อการรับน้ำหนัก จากการขุดตรวจพบร่องรอยแนวเอ็นจำนวนถึง 32 แนว


จากการขุดทดสอบชั้นทับถม สามารถอธิบายถึงการก่อสร้างฐานอาคาร สรุปโดยสังเขป ดังนี้
1. ก่อสร้างแนวกรอบฐาน แนวเอ็นต่างๆ
2. นำดินละเอียด สลับทรายละเอียดที่ผ่านการกรองมาอย่างดี
มาอัดถมร่องระวางเอ็น อัดชั้นดิน ทราย แต่ละชั้นให้แน่น
3. ปูพื้นอิฐปิดผิวด้านบนทั้งหมด กลายเป็นพื้นลานวัด
แม้ว่าพื้นดินอัดถมระหว่างเอ็นมีการยุบตัวจนทำให้พื้นลานวัดทรุด จนต้องมีการปูพื้นอิฐซ่ำเหนือพื้นปูอิฐเดิม แต่ขอบฐาน เอ็น และอาคารหลักด้านบน ยังมีสภาพที่มั่นคง ไม่ทรุดหรือเอียงจนเสี่ยงต่อการพังทลาย
จึงอาจกล่าวได้ว่า การก่อสร้างรากฐานโดยมีระบบเอ็นมารองรับน้ำหนัก เป็นสิ่งที่ช่วยให้อาคารต่างๆ เสี่ยงต่อการทรุดตัวหรือพังทลาย
ดังนั้น วัดไชยวัฒนาราม จึงเป็นศาสนาสถานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของชาวอยุธยา ที่รังสรรค์สถานที่แห่งนี้ด้วยความประณีต และความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการก่อสร้างชั้นฐานที่แข็งแรง แม้วัดจะตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มักเอ่อล้นและไหลเชี่ยวในหน้าน้ำอยู่เสมอ อาคารต่างๆ ยังคงตั้งอยู่อย่างมั่นคง เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่หลายท่านอยากมาเยี่ยมชมเมื่อเยือนอยุธยา
…..
ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลประกอบและภาพถ่ายจาก
นายศุทธิภพ จันทราภาชจี นายสาริศ วัฒนากาล
นักโบราณคดีชำนาญการ นางสาวสิตานันท์ สุวรรณศิลป์
สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา นักโบราณคดี
…..
เรียบเรียงโดย
นายวีระศักดิ์ แสนสะอาด
นักโบราณคดีชำนาญการ
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

Share
0
admin
admin

Related posts

August 26, 2022

ราชินีแห่ง “ปรางค์”


Read more
August 26, 2022

คิดถึง น้องช้างไม่อ้างว้างเลยหนา (พาเที่ยวปางช้าง)


Read more
August 26, 2022

คิดถึง สะพานแขวนแลนด์มาร์คแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา


Read more

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Search

✕

อัพเดตล่าสุด

  • ดันนครหลวงเมืองรองต้องเที่ยว
  • ลุงอ๊อดต้มเลือดหมู
  • ร้านแอบแซบ ที่ต้องบอกต่อ
  • ร้านนี้เมนูเด็ด ครัวนายพัน
  • อยุธยาติด 1 ใน 50 เมืองทั่วโลกต้องมาเที่ยวหลังโควิด

ศูนย์รวมข้อมูล

สถานที่ท่องเที่ยว
ที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ
ประชาสัมพันธ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

แผนที่แนะนำเส้นทาง

Social Network

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • Instagram
  • Ayutthaya.go.th
© Copyright 2022 | go.ayutthaya.go.th
    ไทย
    • No translations available for this page