สถานที่ปลงศพนางวันทอง ในวรรณคดี
เรื่องขุนช้างขุนแผน
📌..วัดตะไกร ถือเป็นวัดร้างที่มีประวัติน่าสนใจ
แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานเอกสารอ้างอิง
ว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยไหนอย่างไร
แต่เนื่องจากวัดนี้มีชื่อปรากฏ
ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน
และมีการอ้างอิงว่าเป็นสถานที่ปลงศพนางวันทอง
.. จากหนังสือประชุมพงศาวดาร
ภาคที่ 63 ตอนที่ว่าด้วยแผนที่กรุงศรีอยุธยา
ฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
พระยาโบราณราชธานินทร์
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2479
หน้า 166 ถึง 167 ได้กล่าวถึงตลาดบก
รอบกรุง 4 ว่าที่หน้าวัดตะไกร
เป็นตลาดท่าน้ำที่หน้าวัดพระเมรุแห่งหนึ่ง
ในจำนวนตลาดนอกกรุงซึ่งมีอยู่ถึง 23 แห่ง ประกอบกับหลักฐานทางด้านวรรณคดี
เรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน
.. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
ได้ทรงสันนิษฐานโดยอาศัยพงศาวดาร
และคำให้การชาวกรุงเก่าไว้ว่า
มีข่าวมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้น
ในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
คือระหว่างพ.ศ 2034 ถึงพ.ศ 2072
ได้กล่าวถึงความสำคัญถึงวัดตะไกร
ว่าเป็นที่ฝังและทำฌาปนกิจศพ
ของนางวันทองผู้ต้องคำพิพากษา
ถึงประหารชีวิตแล้วนำศพไปฝังยังวัดตะไกร
📌.. ตามหลักฐานทางโบราณคดี
ได้สันนิษฐานว่าวัดตะไกร
น่าจะสร้างขึ้นในช่วง พ. ศ. 2006 ถึง 2170
ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ขึ้นมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
และถูกทิ้งร้างเมื่อครั้งที่เสียกรุงศรีอยุธยา
ครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ 2310
และมีหลักฐานว่ามีการกลับมา ใช้พื้นที่วัดอีกครั้ง
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ขอบคุณเจ้าของภาพ : Facebook Noppadol Tueanjit