พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางเป็นพระที่นั่งรุ่นแรกองค์หนึ่งที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพระราชวังใหม่ซึ่งย้ายจากพระราชฐานเดิมเมื่อพ.ศ. 1991 ใช้งานต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยาและเป็นพระที่นั่งเก่าที่สุดเหลือร่องรอยสิ่งก่อสร้างให้เห็นในปัจจุบัน
ศึกษาจากเอกสารประวัติศาสตร์หลายฉบับ อาทิ เอกสารบันทึกของชาวฝรั่งเศส ฮอลันดา โปรตุเกส และลังกา ทําให้ทราบว่าพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทเคยใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีสําคัญหลายครั้ง ในหลายรัชกาล อาทิ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระราชพิธีโสกันต์ และลงสรงเจ้านายที่ทรงพระเยาว์ ทั้งยังเป็นท้องพระโรงที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกว่าราชการ และทรงต้อนรับราชทูตต่างประเทศ เช่น รับรองคณะทูตโปรตุเกสสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รับรองทูตกัมพุชประเทศ สมัยสมเด็จพระเพทราชารับรองราชทูตจากกรุงศรีสัตนาคนหุต และราชทูตจากลังกาในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และที่สําคัญมากคือการรับคณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่14 แห่งฝรั่งเศสในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยโปรดเกล้าฯให้คณะทูตนําโดยเชอวาลิเอร์เดอโชมองต์ ถวายพระราชสาส์นณท้องพระโรง กลางเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ได้รับการบันทึกเผยแพร่ในหนังสือรายงาน พร้อมภาพวาดภาพพิมพ์ เผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทําให้คนรุ่นหลังได้เห็นภาพบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร์ เข้าใจธรรมเนียมการต้อนรับราชทูตของราชสํานักสยามและพอให้เห็นเค้าโครงลักษณะของท้องพระโรงพระที่นั่งองค์นี้บางส่วนด้วย
ร่องรอยที่เหลือเพียงส่วนฐานพอให้สันนิษฐานได้ว่าพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท ก่อบนฐานสูงเป็นอาคารจัตุรมุขมุขหน้า-หลังยาวกวามุขด้านข้างมุขยาว ด้านหน้าคือท้องพระโรงหน้า ที่ประกอบพระราชพิธีและว่าราชการมีทางขึ้น ด้านหน้าขนาบมุขเด็จส่วนมุขยาว ด้านหลังที่เป็นส่วนท้องพระโรงหลัง ยังเหลือร่องรอยเสาก่ออิฐเรียง2 แถวเป็นข้อสันนิษฐานว่าอาจเป็นท้องพระโรง 2 ชั้นท้ายพระที่นั่ง มีส่วนต่อเชื่อมลงไปสู่แนวฉนวน (เส้นทางเสด็จของเจ้านายที่มีผนังปิด2 ข้างทาง) เป็นเส้นทางสู่ประตูกําแพงวังในเอกสารประวัติศาสตร์บางฉบับ ให้ภาพว่าเป็นพระที่นั่งมีเครื่องยอดทรงปราสาทหลังคาซ้อนชั้นหน้าบันมีมุขประเจิดภายในพระที่นั่งประกอบด้วยเครื่องสูงงดงามอลังการ ตามธรรมเนียมราชสํานักสยาม และตกแต่งพิเศษด้วยสิ่งของมีค่าหายากนํามาจากต่างประเทศ
ส่วนพื้นลานมีประติมากรรมทวารบาลและรูปสัตว์ในวรรณคดี เนื่องจากเป็นพระที่นั่งที่ใช้งานมายาวนานจึงน่าจะผ่านการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง เอกสารประวัติศาสตร์กล่าวถึงในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศว่าพระที่นั่งมีสภาพชํารุดเสียหาย โปรดเกล้าฯให้ซ่อมโดยรื้อเครื่องบนลงแล้วสร้างใหม่ใช้เวลา8 เดือน และกล่าวว่าพระที่นั่งองค์เดิมเครื่องบนหุ้มดีบุกไม่ปิดทอง จึงมีการปิดทองส่วนยอดพระมหาปราสาทในการบูรณะครั้งนั้นพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทคงถูกทําลายเสียหายมาก เมื่อสงครามครั้งเสียกรุง และเฉกเช่นเดียวกับพระที่นั่งองค์อื่นๆ คือถูกรื้อถอนอิฐไปใช้ในการสร้างเมืองใหม่ ซากพระที่นั่งก็ถูกทิ้งร้างไปในเวลาต่อมา
จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดําริให้ฟื้นฟกรุงศรีอยุธยาให้เป็นเมืองสําคัญอีกครั้งในส่วนพระราชวังโบราณ มีพระราชดําริให้สร้างพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทขึ้นใหม่ บนซากฐานเดิมการก่อสร้างเริ่มขึ้นแล้วแต่ยังไม่แล้วเสร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้เจ้าอยู่หัวมีแนวพระราชดําริให้ศึกษาและสืบค้นโบราณสถานในอยุธยา เพื่อเป็นความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของชาติจึงให้ระงับการสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ แต่โปรดให้พระยาโบราณราชธานินทร์ทํางานศึกษาขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณพระราชวังหลวง
อย่างไรก็ดีเมื่อพ.ศ. 2450 มีการประกอบพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกบวงสรวงอดีตพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้น มีการรื้อโครงสร้างปราสาทที่ดําเนินการก่อสร้างค้างไว้ในรัชกาลที่ 4 ลงแล้วสร้างพระที่นั่งอาคารประกอบและกําแพงวังเพื่อใช้งานชั่วคราวในพระราชพิธีนั้น
อ้างอิง: หนังสือพระราชวังหลวงและวัดสําคัญแห่งกรุงศรีอยุธยา