Go-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-LogoGo-Ayuthaya-Logo
  • หน้าแรก
  • สถานที่ท่องเที่ยว
    • วัด – โบราณสถาน
    • ที่เที่ยวไม่ใช่วัด
    • แหล่งซื้อของ
  • ร้านอาหาร
    • ร้านอาหาร-อ.บ้านแพรก
    • ร้านอาหาร-อ.ผักไห่
    • ร้านอาหาร-อ.ภาชี
    • ร้านอาหาร-อ.มหาราช
    • ร้านอาหาร-อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.วังน้อย
    • ร้านอาหาร-อ.อุทัย
    • ร้านอาหาร-อ.เสนา
    • ร้านอาหาร-อ.ท่าเรือ
    • ร้านอาหาร-อ.นครหลวง
    • ร้านอาหาร-อ.บางซ้าย
    • ร้านอาหาร-อ.บางบาล
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะหัน
    • ร้านอาหาร-อ.บางปะอิน
    • ร้านอาหาร-อ.บางไทร
    • ร้านอาหาร-อ.พระนครศรีอยุธยา
  • โรงแรมและที่พัก
    • อ.ท่าเรือ
    • อ.นครหลวง
    • อ.บางซ้าย
    • อ.บางบาล
    • อ.บางปะหัน
    • อ.บางปะอิน
    • อ.บางไทร
    • อ.บ้านแพรก
    • อ.ผักไห่
    • อ.ภาชี
    • อ.มหาราช
    • อ.ลาดบัวหลวง
    • อ.วังน้อย
    • อ.อุทัย
    • อ.พระนครศรีอยุธยา
    • อ.เสนา
  • ร้านกาแฟ
    • ร้านกาแฟ  อ.มหาราช
    • ร้านกาแฟ  อ.ลาดบัวหลวง
    • ร้านกาแฟ  อ.วังน้อย
    • ร้านกาแฟ  อ.อุทัย
    • ร้านกาแฟ  อ.เสนา
    • ร้านกาแฟ อ.ท่าเรือ
    • ร้านกาแฟ อ.นครหลวง
    • ร้านกาแฟ อ.บางซ้าย
    • ร้านกาแฟ อ.บางบาล
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะหัน
    • ร้านกาแฟ อ.บางปะอิน
    • ร้านกาแฟ อ.บางไทร
    • ร้านกาแฟ อ.บ้านแพรก
    • ร้านกาแฟ อ.ผักไห่
    • ร้านกาแฟ อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ร้านกาแฟ อ.ภาชี
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน อ.ท่าเรือ
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางบาล
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะหัน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะอิน
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.นครหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางซ้าย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางไทร
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บ้านแพรก
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ผักไห่
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.พระนครศรีอยุธยา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ภาชี
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.มหาราช
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.ลาดบัวหลวง
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.วังน้อย
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.เสนา
    • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.อุทัย
  • ติดต่อเรา
ไทย
✕

“นภศูล”ยอดปรางค์ (น้อย)

  • Home
  • ข่าวประชาสัมพันธ์ สกู๊ปพิเศษ
  • “นภศูล”ยอดปรางค์ (น้อย)
อยุธยาเหมือนเมืองเวนิส
February 26, 2022
Leaf&Tree Cafe Ayutthaya
February 26, 2022

“นภศูล”ยอดปรางค์ (น้อย)

Published by admin on February 26, 2022
Categories
  • สกู๊ปพิเศษ
Tags

“นภศูล”ยอดปรางค์ (น้อย) เหนือตรีมุขปรางค์วัดพระราม เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
.
ยอดโลหะ “นภศูล” (Naba Shula – Sky Spear) ประดับพระปรางค์องค์เล็กสร้างขึ้นเหนือเรือนมณฑป “ตรีมุข” หน้าเรือนธาตุของพระปรางค์ใหญ่วัดพระราม หรือวัดรามาวาส ? บนเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ที่อาจสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นงานศิลปะประดับยอดปรางค์ที่ยังคงรักษารูปลักษณ์ตามแบบแผนศิลปะอยุธยาตอนต้น ที่ได้รับอิทธิพลมาจากงานประดับปราสาทเขมรโบราณ เป็นนภศูลที่เก่าแก่ที่สุดจากทั้งหมดที่เหลืออยู่ในประเทศไทย จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติวังจันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา


นภศูลยอดปรางค์จากวัดพระรามนี้ คงได้หักพังลงมาในช่วงรัชกาลที่ 5 ก่อนหน้าที่ตัวอาคารมณฑปตรีมุขที่มียอดปรางค์นี้อยู่ข้างบนจะพังทลายลงมาทั้งหมด พระยาโบราณราชธานินท์ (พร เตชะคุปต์) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้ให้นำมาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม) ประมาณทศวรรษที่ 2440 จนถึงในปัจจุบันครับ


นภศูล มาจากคำว่า “นภา” ที่แปลว่าท้องฟ้า และคำว่า “ศูล” (shula -śūl) ที่แปลว่า อาวุธที่แหลมคม เครื่องประดับส่วนยอด เป็นสัญลักษณ์ชี้พุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า แสดงความหมาย “ความเป็นที่สูงสุด” ของยอดปรางค์ ซึ่งก็คือสวรรค์เขาพระสุเมรุนั่นเอง


องค์ประกอบสำคัญของนภศูล ส่วนยอดสุดคือ“ศูล” หรืออาวุธ เรียกว่า “หลาว” ตัวแกนกลาง เรียกว่า “ลำภุขัน” หรือด้ามของอาวุธ มี “กิ่ง” เป็นรูป “ดาบ ฝักเพกา หรือ ลิ้นฟ้า” แยกออกจากตัวแกน ลดหลั่นขึ้นไป 3 ชั้น แต่ละชั้นมีกิ่งแยกออกไป 4 ทิศต่อชั้น


นภศูลของยอดปรางค์อยุธยา มีพัฒนาการมาจากเครื่องประดับเรือนยอดปราสาทหินในงานศิลปะเขมรโบราณ ทั้งที่เรียกว่า ตรีศูล ปัญจศูล และทศศูล ดังตัวอย่างของชิ้นส่วนนภศูลที่พบจากปราสาทกู่โพนระฆัง จังหวัดร้อยเอ็ด อโรคยศาลาในยุคจักรวรรดิบายน (อาจจัดได้ว่าเป็นชิ้นส่วนยอดนภศูลแบบเขมรที่เก่าที่สุด ที่พบเพียงชุดเดียวในประเทศไทย) จะมีกิ่งโค้งหยักเป็นรูป “แง่งขิง” หรือ “สลัดได” 5 ขยัก แตกต่างไปจากปรางค์ไทยในยุคหลัง ที่มีกิ่งเป็นรูปฝักเพกาหรือดาบครับ


นภศูลวัดพระราม มีแกนเป็นเสาโลหะปลายแหลมต่อด้วยแกนกลางเป็นลำยาว ตั้งปักเข้ากับรูเดือยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร ยังคงมีรูปของ “กิ่ง” ตามแบบนภศูลปราสาทเขมร คือเป็นโค้งแง่งขิง (มีหนาม) 5 ขยัก แกนลำภุขันเป็นสันคม 4 มุม ต่อกันเป็นปล้องขึ้นไป 3 ชั้น ปลายเป็นรูปหลาว คล้ายพระขรรค์ 4 คม ศูลหรือหลาวของปรางค์ไทย มีลักษณะทรงชะลูดสูงรูปอาวุธ ไม่เป็นกลุ่มบัวยอดแหลมแบบที่พบจากปราสาทเขมร ซึ่งรูปแบบของยอดนภศูลนี้ เป็นลักษณะเด่นของปรางค์ไทยยุคเริ่มแรก ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 ที่ยังคงแบบแผนนภศูลของปราสาทเขมรเอาไว้ แต่ได้ดัดแปลงให้ชะลูดสูงไปตามรูปทรงงาเนียมและทรงฝักข้าวโพดของเรือนยอดปรางค์ไทย

.

*** ซึ่งในช่วงเวลาต่อมา นภศูลในงานศิลปะอยุธยาได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของส่วนแกนลำภุขัน จากสันเหลี่ยมคมแบบพระขรรค์ มาเป็นทรงกลมหรือทรงกระบอก โดยมีการเพิ่มหม้อประดับ “อมลกะ” ตรงบริเวณจุดแตกออกของกิ่งทั้ง 3 ชั้น ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงงานศิลปะในช่วงยุคต้นรัตนโกสินทร์ ดังตัวอย่างแกนลำภุขันยอดนภศูลจากวัดมหาธาตุเพชรบุรี (ไม่มีกิ่งเหลือ) นภศูลของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก วัดมหาธาตุสุพรรณบุรี และอย่างที่ยอดปรางค์วัดอรุณครับ


วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

Share
0
admin
admin

Related posts

August 26, 2022

ราชินีแห่ง “ปรางค์”


Read more
August 26, 2022

คิดถึง น้องช้างไม่อ้างว้างเลยหนา (พาเที่ยวปางช้าง)


Read more
August 26, 2022

คิดถึง สะพานแขวนแลนด์มาร์คแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา


Read more

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Search

✕

อัพเดตล่าสุด

  • วิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยว
  • เที่ยวงานวัดย้อนยุควัดหน้าต่างนอก
  • ร้านอาหารใต้ ปลายด้ามขวาน
  • เที่ยวพุทธอุทยานมหาราชหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ อ.มหาราช
  • AFTER YOU หวานจนไม่อยากกลับ

Search

✕

Latest posts

  • 0
    วิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยว
    March 6, 2023
  • 0
    เที่ยวงานวัดย้อนยุควัดหน้าต่างนอก
    March 3, 2023

Categories

  • Uncategorized @th
  • ข่าวกิจกรรม
  • ข่าวท่องเที่ยว
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ข่าวอื่นๆ
  • คลิปวีดีโอ
  • ที่เที่ยวไม่ใช่วัด
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.นครหลวง
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.บางปะอิน
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน  อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน อ.ท่าเรือ
  • ร้านกาแฟ
  • ร้านกาแฟ  อ.วังน้อย
  • ร้านกาแฟ  อ.เสนา
  • ร้านกาแฟ อ.ท่าเรือ
  • ร้านกาแฟ อ.บางซ้าย
  • ร้านกาแฟ อ.บางบาล
  • ร้านกาแฟ อ.บางปะหัน
  • ร้านกาแฟ อ.บางปะอิน
  • ร้านกาแฟ อ.ผักไห่
  • ร้านกาแฟ อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ร้านอาหาร
  • ร้านอาหาร-อ.บางซ้าย
  • ร้านอาหาร-อ.บางบาล
  • ร้านอาหาร-อ.บางปะหัน
  • ร้านอาหาร-อ.บางปะอิน
  • ร้านอาหาร-อ.บางไทร
  • ร้านอาหาร-อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ร้านอาหาร-อ.มหาราช
  • ร้านอาหาร-อ.อุทัย
  • ร้านอาหาร-อ.เสนา
  • วัด – โบราณสถาน
  • สกู๊ปพิเศษ
  • สถานที่ท่องเที่ยว
  • อ.นครหลวง
  • อ.บางปะอิน
  • อ.บางไทร
  • อ.ผักไห่
  • อ.พระนครศรีอยุธยา
  • อ.มหาราช
  • อ.อุทัย
  • แหล่งซื้อของ
  • โรงแรมและที่พัก
  • ไฮไลท์

Archives

  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017
  • September 2017
  • March 2017
  • April 2000

Calendar

March 2023
M T W T F S S
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
« Feb    

ศูนย์รวมข้อมูล

สถานที่ท่องเที่ยว
ที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ
ประชาสัมพันธ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

แผนที่แนะนำเส้นทาง

Social Network

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • Instagram
  • Ayutthaya.go.th
© Copyright 2022 | go.ayutthaya.go.th
    ไทย
    • No translations available for this page