ต้องบอกว่าเป็นการสร้างที่เป็นประโยชน์ต่อชาวกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้ กับสะพานแห่งนี้ เพราะเมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ใช้ประโยชน์มากมายเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนจวบจนถึงปัจจุบัน สะพานนี้ชื่อว่า “สะพานปรีดี-ธำรง” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดประวัติศาสตร์สำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาเลยครับ สะพานนี้มีที่มาแน่นอนเดี๋ยววันนี้ผมจะพาทุกคนไปย้อนรอยดูว่าสะพานนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นผู้สร้าง และเรื่องราวในอดีตเป็นอย่างไร ตามผมมาเลยครับ
ย้อนกลับไปในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 ก็ได้พยายามที่จะ “บูรณะ” กรุงเก่าเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะหัวแรงสำคัญ คือ พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้สำรวจกรุงเก่าโดยละเอียด และบูรณะวัดสำคัญ ๆ ไว้หลายแห่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะพลิกฟื้นกรุงเก่าให้กลับมามีชีวิตขึ้นอีกครั้ง กรุงศรีอยุธยาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีสภาพเป็นเมืองร้าง ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่ตามลำน้ำรอบเกาะเมือง การอยู่อาศัย การค้าขาย และการคมนาคม ยังคงยึดลําน้ำเป็นหลัก ภาพภายในกำแพงเมืองจึงรกร้าง เปลี่ยว เต็มไปด้วยสัตว์ป่า โจรผู้ร้าย
ที่มาของสะพานนี้เกิดขึ้นโดย นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะเป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด ซึ่งแนวความคิดที่ว่า ต้องย้ายคนจากลำน้ำเข้าสู่เกาะเมืองให้ได้ โดยในขณะนั้น นายปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการอยู่ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม แล้วขายที่ดินให้กับราษฎร เพื่อจูงใจให้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในเกาะเมือง ในเวลาถัดมาในช่วงรัชกาลที่ 4 ได้มีการปรับปรุงพัฒนาบ้านเมืองโดยมีการสร้าง “ถนน” เป็นตัวแปรสำคัญ ตลาดบกเริ่มมาแทนที่ตลาดน้ำ ในเกาะเมืองกรุงเก่าก็เช่นกัน มีการสร้างถนนเพิ่มขึ้น ติดตามมาด้วยหัวใจสำคัญของแผนคืนชีวิตให้กับกรุงศรีอยุธยาก็คือ สะพานปรีดี-ธำรง
ถือเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนกรุงเก่า จากที่เคยเดินทางขนส่งสินค้าทางเรือจากจังหวัดต่าง ๆ มาสู่การใช้ถนน ซึ่งสะดวกรวดเร็วกว่า
ที่มาของชื่อสะพานปรีดี-ธำรง การก่อสร้างสะพานปรีดี-ธำรง เริ่มในปี 2483 เสร็จในปี 2486 และตั้งชื่อตามชาวอยุธยาในคณะรัฐมนตรี 2 ท่าน คือ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และหลวงธํารงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ความสำคัญของสะพานแห่งนี้ นอกจากจะช่วยเพิ่มความสะดวกในด้านการคมนาคมแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ชุมชุนบ้านเรือนภายในเกาะเมืองอยุธยากลับมาคึกคักอีกครั้ง การพลิกฟื้นอดีตของเมืองกรุงเก่าครั้งสำคัญนี้
ข้อมูลจาก
www.silpa-mag.com
www.museumthailand.com
บทความในนิตยสารชื่อ สะพานปรีดี-ธำรง แผนกู้กรุงศรีอยุธยาของปรีดี พนมยงค์